พายุ ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556

พายุโซนร้อนกำลังแรงโซนามู

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา1 – 10 มกราคม
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
990 mbar (hPa; 29.23 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): เอาริง
  • วันที่ 30 ธันวาคม (2555) กลุ่มเมฆพายุฝนฟ้าคะนองได้ก่อตัวอยู่เหนือไมโครนีเซีย
  • วันที่ 1 มกราคม ต่อมาระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นในเวลา 00 UTC สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จึงได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[11]
  • วันที่ 3 มกราคม สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อนและใช้ชื่อ "เอาริง (Auring)" ขณะที่มันกำลังเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์[12] ต่อมาศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน[13] และต่อมาก็ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน และใช้ชื่อ 01W ในช่วงกลางคืน JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "โซนามู" ต่อมา JTWC [14][15]
  • วันที่ 4 มกราคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นพายุโซนร้อนพร้อมรหัสเรียกขาน 01W[16]
  • วันที่ 6 มกราคม JMA ได้ปรับลดระดับความรุนแรงของโซนามูลงเป็นพายุโซนร้อน[17] กรมอุตุนิยมวิทยาไทย (TMD) ได้ออกคำเตือนของพายุโซนามูฉบับที่ 10 โดยระบุว่าพายุจะเคลื่อนตัวไปใกล้ชายฝั่งประเทศมาเลเซียและอ่อนกำลังลง โดยอาจมีผลกระทบกับภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป โดยพายุทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง[18]
  • วันที่ 7 มกราคม TMD เวลา 16.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ได้ออกประกาศเกี่ยวกับพายุโซนร้อนโซนามู ฉบับที่ 14 ว่าพายุจะทำให้มีฝนตกมากเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงตั้งแต่วันที่ 7-9 มกราคม[19]
  • วันที่ 8 มกราคม เวลา 04.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) TMD ได้ประกาศเกี่ยวกับโซนามูฉบับที่ 16 ว่า โซนามูอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว และกำลังจะสลายตัว โดย TMD คาดการณ์ว่าดีเปรสชันจะทำให้มีฝนตกกระจายในพื้นที่เป็นแห่ง ๆ ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป[20]

พายุทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยหนึ่งคนในฟิลิปปินส์[21] โซนามู ยังเป็นพายุที่ก่อตัวเร็วที่สุดของปีในภูมิภาคมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ นับตั้งแต่ไต้ฝุ่นอลิซ ในปี พ.ศ. 2522[22]

พายุโซนร้อนชานชาน

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา18 – 23 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1002 mbar (hPa; 29.59 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): กรีซิง
  • วันที่ 18 กุมภาพันธ์ JMA และ PAGASA เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันที่ปรากฏขึ้นในมอนิเตอร์ พบว่าการพัฒนาอยู่ในระยะ 750 กิโลเมตร (470 ไมล์) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเจเนรอล ซัลโตสในภาคใต้ของมินดาเนา[23][24]
  • วันที่ 19 กุมภาพันธ์ JTWC ประการทวีความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อนและใช้รหัสเรียกขานว่า 02W[25]
  • วันที่ 21 กุมภาพันธ์ JTWC ใช้ประกาศเตือนภัยฉบับสุดท้าย เนื่องจากลมเฉือนกำลังแรง[26]
  • วันที่ 22 กุมภาพันธ์ JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ ชานชาน แต่ NRL ได้ประกาศลดความรุนแรงของระบบเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ[27][28]
  • วันที่ 23 กุมภาพันธ์ JMA ประกาศลดระดับความรุนแรงของชานชานเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[29]

ผลกระทบจากพายุลูกนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตในประเทศฟิลิปปินส์ 4 ราย[30]

พายุโซนร้อนยางิ

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา6 – 12 มิถุนายน
ความรุนแรง85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
990 mbar (hPa; 29.23 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): ดันเต
  • วันที่ 6 มิถุนายน ดีเปรสชันเขตร้อน 03W ก่อตัวขึ้นทางทิศตะวันออกของฟิลิปปินส์
  • วันที่ 8 มิถุนายน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศทวีกำลังดีเปรสชันเขตร้อนขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ ยางิ
  • วันที่ 12 มิถุนายน JMA ประกาศลดระดับความรุนแรงของพายุโซนร้อนยางิ ลงเป็นดีเปรสชันเขตร้อน

พายุโซนร้อนหลี่ผี

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา16 – 21 มิถุนายน
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
994 mbar (hPa; 29.35 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): เอโมง

ผลกระทบจากพายุ

ระบบของพายุนี้ทำให้เกิดฝนตกในพื้นที่บางส่วนของฟิลิปปินส์รวมทั้งภาคใต้ของเกาะลูซอย และวิซายา และภาคเหนือของมินดาเนา

พายุโซนร้อนเบบินคา

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา19 – 24 มิถุนายน
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
990 mbar (hPa; 29.23 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): ฟาเบียน
  • วันที่ 19 มิถุนายน มีการพัฒนาตัวของหย่อมความกดอากาศในทะเลจีนใต้ การพัฒนาค่อยๆ จัดระบบและกลายเป็นดีเปรสชันเขตร้อน และต่อมาเวลา 1800 UTC (เวลา 0100 น. ตามเวลาประเทศไทย(วันที่ 20)) สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ก็ได้ประกาศว่าระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อนแล้ว[35] หกชั่วโมงถัดมา สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้ติดตามระบบและใช้ชื่อ "ฟาเบียน (Fabian)"[36]
  • วันที่ 20 มิถุนายน แม้ว่าระบบของพายุจะถูกขัดขวางโดยลมเฉือนที่เกิดจากแนวสันใกล้เคียง แต่ก็ไม่ทำให้พายุอ่อนกำลังลงไป ทั้งยังช่วยให้ระบบมีการจัดระเบียบภายในได้ตลอดทั้งวัน[37]
  • วันที่ 21 มิถุนายน ที่เวลา 0000 UTC (เวลา 0700 น. ตามเวลาในประเทศไทย) JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อน และให้ชื่อว่า "เบบินคา"[38]
  • วันที่ 22 มิถุนายน อย่างไรก็ตาม เบบินคา ไม่สามารถที่จะทวีกำลังขึ้นได้อีกเพราะ พายุโซนร้อนเบบินคาขึ้นถล่มแผ่นดินเกาะไห่หนาน[39]
  • วันที่ 23 มิถุนายน เวลา 11.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาไทย (TMD) ได้ออกประกาศเกี่ยวกับพายุโซนร้อนเบบินคา ฉบับที่ 10 โดยกรมอุตุฯคาดว่าพายุจะขึ้นฝั่งประเทศจีนตอนใต้และประเทศเวียดนามตอนบนในคืนวันนี้ และจะอ่อนกำลังลง โดยพายุจะทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในระยะ 2-3 วัน[40]

ผลกระทบที่เกิดจากพายุ

นี้เป็นผลกระทบที่มีผลส่วนหนึ่งจากพายุเบบินคา, สนามบินนานาชาติซานยาฟีนิคซ์ ประกาศยกเลิกหรือเลื่อนเที่ยวบินกว่า 147 เที่ยงทั้งขาเข้าและขาออก ทำให้มีผู้โดยสารกว่า 8000 คนตกค้างอยู่ แม้แต่บริการขนส่งในรูปแบบอื่นๆบนเกาะไห่หนานก็กำลังเตรียมการกับพายุโซนร้อนที่กำลังเข้ามา[41] วันที่ 21 มิถุนายน ในอ่าวตังเกี๋ย มีชาวประมงบนเรือประมงขาดการติดต่อกับแผ่นดินใหญ่จำนวนสี่คน[42] พวกเขาถูกค้นพบในวันรุ่งขึ้นภายหลัง[43]

พายุโซนร้อนกำลังแรงรุมเบีย

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา27 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
985 mbar (hPa; 29.09 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): โกรีโย
  • วันที่ 26 มิถุนายน เวลา 1200 UTC ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้ใช้รหัสเรียกขานระบบว่า 99W หย่อมความกดอากาศกำลังแรง
  • วันที่ 27 มิถุนายน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และ สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้ประกาศให้ระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน และ PAGASA ได้ให้ชื่อระบบว่า โกรีโย (Gorio)[44][45] ต่อมาในเวลา 1200 UTC ในวันเดียวกัน JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อว่า รุมเบีย[46] อีกหกชั่วโมงต่อมา PAGASA ได้ประกาศทวีความรุนแรงด้วย[47] ลมเฉือนได้ขัดขวางการทวีกำลังแรงขึ้นของ รุมเบีย และพายุโซนร้อนยังคงจัดระเบียบตัวเองไม่ได้จนใกล้ถึงแผ่นดินทางซามาร์ตะวันออก[48][49]
  • วันที่ 28 มิถุนายน ในเวลานั้นรุมเบียมีความรุนแรงลมสูงสุด 40 ไมล์ (65 กม./ชม.) และมีความกดอากาศใกล้ศูนย์กลาง 1000 มิลลิบาร์ (เอกโตปาสกาล; 29.53 นิ้วปรอท)[50]
  • วันที่ 30 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาไทย (TMD) ได้ออกประกาศเกี่ยวกับพายุโซนร้อนรุมเบีย เวลา 07.00 น. โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าพายุนี้ยังไม่มีผลกระทบกับประเทศไทยในระยะนี้[51]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของรุมเบียเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ในขณะที่ JTWC ได้ประกาศทวีกำลังแรงรุมเบียเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 ส่วน TMD ได้ออกประกาศเกี่ยวกับพายุรุมเบีย ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม ว่า พายุรุมเบียจะไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย[52]
  • วันที่ 2 กรกฎาคม JMA ได้ประกาศลดความรุนแรงของรุมเบียลงเป็นพายุโซนร้อน ในขณะที่ JTWC ก็ได้ประกาศลดความรุนแรงของรุมเบียลงเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน ส่วน TMD ได้ออกประกาศเกี่ยวกับพายุ ฉบับที่ 11 ระบุว่า พายุโซนร้อนรุมเบีย อยู่บริเวณมณฑลกวางสี และกำลังจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันต่อไป[53]

พายุไต้ฝุ่นซูลิก

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา7 – 14 กรกฎาคม
ความรุนแรง185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
925 mbar (hPa; 27.32 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): ฮัวนิง
  • 5 กรกฎาคม แกนความกดอากาศต่ำเย็นถูกพบอยู่บริเวณใกล้กับหมู่เกาะมาเรียนา และต่อมาได้พัฒนาเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ
  • 6 กรกฎาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศทวีความรุนแรงหย่อมความกดอากาศนั้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน
  • 8 กรกฎาคม ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ต่อมา JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อน และให้ชื่อว่า "ซูลิก" และต่อมาอีกไม่กี่ชั่วโมง JTWC ก็ได้ประกาศทวีความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน ต่อมา JMA ก็ได้มีการประกาศทวีความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงอีกครั้ง
  • 9 กรกฎาคม JMA และ JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงพายุโซนร้อนกำลังแรงซูลิกเป็นไต้ฝุ่น

พายุโซนร้อนซีมารอน

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา15 – 18 กรกฎาคม
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): อีซัง
  • วันที่ 15 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงก่อตัวขึ้นทางทิศตะวันออกของฟิลิปปินส์ หลังจากนั้น PAGASA ประกาศใช้ชื่อ อีซัง (Isang) กับระบบ[54]
  • วันที่ 16 กรกฎาคม ช่วงเช้าระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในชื่อซิมารอน และก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองขึ้น
  • วันที่ 19 กรกฎาคม เศษที่เหลือของพายุเคลื่อนตัวอยู่ทางทิศตะวันออกของไต้หวัน
  • วันที่ 20 กรกฎาคม ระบบทั้งหมดสลายตัวไปในที่สุด[55]

ผลกระทบจากพายุทำให้มีฝนตกกระหน่ำทางตอนใต้ของจังหวัดฝูเจี้ยน และก่อให้เกิดน้ำท่วมขึ้น เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นซูลิกไปเพียงประมาณหนึ่งสัปดาห์ ทำให้มีน้ำฝนสะสมสูงสุดในหนึ่งวันที่ 505.3 มิลลิเมตร (19.89 นิ้ว) ซึ่งเป็นตัวเลขที่ถูกบันทึกที่หมู่บ้านเหมย (Mei Village) ซึ่งมีน้ำฝนสะสมในหนึ่งชั่วโมงสูงสุด 132.3 มิลลิเมตร (5.21 นิ้ว)[56] ทำให้มีบ้านเรือนประชาชนและถนนหลายสายถูกตัดขาด.[57]บางพื้นที่เป็นพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดอุทกภัยเลยในระยะ 500 ปี มีประชากรกว่า 20,280,000 คนได้ระผลกระทบจากพายุ และ 8,920,000 คนถูกอพยพออกจากพื้นที่ มีรายงานว่ามีคนอย่างน้องหนึ่งคนถูกคร่าชีวิตไป[58]

พายุโซนร้อนกำลังแรงเชบี

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา26 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม
ความรุนแรง100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
985 mbar (hPa; 29.09 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): โฮลีนา

ในเมืองโกตาบาโต ซิตี้ มีฝนตกต่อเนื่องตลอดสามวัน เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้มี 25 จาก 37 หมู่บ้านในมินดาเนาประสบภาวะอุทกภัย โดยภาวะอุทกภัยทำให้รัฐบาลท้องถิ่นประกาศระงับการเรียนการสอนของโรงเรียนทั้งรัฐบาลและเอกชน ฝนที่ตกหนักยังทำให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มลิกัวซัน (Liguasan) รวมทั้ง 14 เมืองในพื้นที่ลุ่มต่ำในมากุอินดาเนา และเจ็ดเมืองในโกตาบาโตเหนือ[66]

พายุโซนร้อนมังคุด

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา5 – 8 สิงหาคม
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
992 mbar (hPa; 29.29 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): กีโก
  • วันที่ 5 สิงหาคม JMA และ PAGASA ได้รายงานพบพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้น ใกล้กับระยะ 145 กิโลเมตร (90 ไมล์) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเปอร์โต ปรินเซซา ในปาลาวัน ด้วยชื่อเรียกขานว่า "กีโก"[67][68][69]
  • วันที่ 6 สิงหาคม จากการติดตามของ JMA พบว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน โดย JMA ให้ชื่อว่า "มังคุด" ก่อนที่ JTWC จะได้เริ่มออกคำแนะนำและประกาศและใช้รหัสเรียกขานเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน 10W[67][70][71]
  • วันที่ 7-8 สิงหาคม ระบบของพายุได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเยื้องเหนือ ก่อนจะขึ้นพัดเข้าถล่มแผ่นดินเวียดนามตอนเหนือ จากนั้นได้อ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่องและเข้าสู่ประเทศลาว

ฝนจากพายุที่ตกตลอดทั้งคืนวันพุธจนถึงวันพฤหัสบดี ถูกบันทึกไว้สูงสุดที่ 80 มิลลิเมตร (3.1 นิ้ว) บนถนนในนครหลวง ก่อให้เกิดความลำบากในการสัญจรแก่คนจำนวนมากในการเดินทางไปทำงาน ในขณะเดียวกัน ปริมาณน้ำฝนได้ทวีขึ้นไปถึงประมาณ 300 มิลลิเมตร (12 นิ้ว) ในตอนกลางของเมืองทัญฮวาและทางตอนเหนือของเมืองไฮฟอง และมีความเร็วลมประมาณ 62-88 กม./ชม. (40-55 ไมล์/ชม.)[72][73]

พายุไต้ฝุ่นอูตอร์

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา8 – 18 สิงหาคม
ความรุนแรง195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
925 mbar (hPa; 27.32 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): ลาบูโย
  • วันที่ 8 สิงหาคม JMA, JTWC และ PAGASA ได้รายงานว่าพบพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวในระยะ 560 กิโลเมตร (350 ไมล์) ทางตอนเหนือของปาเลา ด้วยรหัสเรียกขาน "ลาบูโย" เนื่องจากเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์[74][75][76]
  • วันที่ 9 สิงหาคม JMA ได้รายงานว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อน ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้ชื่อ "อูตอร์"

พายุโซนร้อนกำลังแรงจ่ามี

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา16 – 24 สิงหาคม
ความรุนแรง110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
965 mbar (hPa; 28.5 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): มาริง
  • วันที่ 15 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำได้ก่อตัวขึ้นทิศตะวันออกของเฮิงชุน, ไต้หวัน ในมหาสมุทรแปซิฟิก
  • วันที่ 17 สิงหาคม ระบบเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกอย่างช้าๆ และได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน โดยสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันจากจุดนี้ โดยระบบได้รับการตั้งชื่อว่า 12W และ มาริง (Maring) โดย PAGASA โดยมาริง เริ่มที่จะมีปฏิกิริยากับพายุดีเปรสชันอีกลูกหนึ่งทางเหนือ ซึ่งเป็นผลของฟุจิวะระ (Fujiwhara Effect)[77]
  • วันที่ 18 สิงหาคม 12W ได้ทวีกำลังแรงมากขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับการตั้งชื่อว่า จ่ามี โดยจ่ามี มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกโดยทั่วไป[78] ในช่วงบ่ายของวันมีฝนตกอย่างหนัดหนักในลูซอน สำนักงานรัฐบาลของฟิลิปปินส์จึงประกาศระงับการเรียนการสอน และการทำงานของรัฐในบางเมือง, PAGASA ได้ออกประกาศถึงการสังเกตการณ์ประมาณน้ำฝน, สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ในมะนิลา และจังหวัดใกล้เคียงมีการรายงานถึงอุทกภัยที่รุนแรง, ระดับน้ำในแม่น้ำมาริกานา ได้เพิ่มขึ้นสูงสุด 19 เมตร เจ้าหน้าที่จึงต้องบังคับให้ผู้ที่อยู่อาศัยโดยรอบอพยพ, มีประชาชน 8 คนเสียชีวิตทันทีจากน้ำท่วมที่รุนแรง, ในจังหวัดปัมปางา, บาตาน, กาวีเต และลากูนา รวมกับเมืองของมะนิลามีการประกาศสถานการณ์ภัยพิบัติ[79][80][81][82][83]
  • วันที่ 20 สิงหาคม การเตือนภัยระดับน้ำทะเลได้รับการออกโดยสำนักอุตุนิยมวิทยากลางของไต้หวันในเวลา 11.30 ตามเวลาท้องถิ่น เนื่องจากจ่ามี และมีการเตือนภัยบนแผ่นดินตามมาในเวลา 20.30 ตามเวลาท้องถิ่น ณ จุดนี้จ่ามี มีความรุนแรงลมตามสเกลเฮอร์ริเคนของแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน เป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1, หมู่เกาะยะเอะยะมะ และ หมู่เกาะมิยะโกะ ได้รับผลกระทบจากลมกรรโชก โดยระบบกำลังมุ่งหน้าไปยังไต้หวันและจีน[84][85]
  • วันที่ 21 สิงหาคม ลมกรรโชกแรงเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่มากทางภาคเหนือของไต้หวัน ขณะที่จ่ามีกำลังมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ระบบยังทำให้มีฝนตกโดยในไทเปมีฝนตกถึง 12 นิ้ว มีแผ่นดินถล่มเกิดขึ้นในฮชินชู ทำให้มีประชาชน 70 คนถูกตัดขาดจากโลกภายนอก, ประชาชน 10 คนได้รับบาดเจ็บ และมีกว่า 6000 คนได้รับการอพยพ แต่ถึงแม้จะมีสภาพฝนตกหนักและลมแรงเพียงใด จ่ามีก็ทำให้ไต้หวันได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น[86][87]
  • วันที่ 22 สิงหาคม จ่ามี ยังคงมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก และขึ้นถล่มแผ่นดินจีน ในจังหวัดฝูเจี้ยน เวลา 02.40 ตามเวลาท้องถิ่น ลมแรงกว่า 126 กม./ชม. น้ำฝนมหาศาลตกลงมาและถูกบันทึกไว้ที่จังหวัดฝูเจี้ยน, นิงเตอ, ปูเทียน และซานมิง, กว่า 191 เขตทั่วทั้งจังหวัดมีประมาณฝนตกกว่า 100 มิลลิเมตร บริการสาธารณจำนวนมหาศาลได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง มีการอพยพประชาชนหลายร้อนคนหลายพัน[88][89]
  • วันที่ 23 สิงหาคม จ่ามี อ่อนกำลังลง ส่วนที่หลงเหลือของระบบยังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก[90]

จ่ามี ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 18 คนในฟิลิปปินส์ และยังทำให้เกิดน้ำท่วมหนักทั่วประเทศ จ่ามีสร้างความเสียหายกว่า 1,830,000 ดอลลาร์สหรัฐ

พายุโซนร้อนกำลังแรงเปวา

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา18 (เข้ามาในแอ่ง) – 26 สิงหาคม
ความรุนแรง100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
990 mbar (hPa; 29.23 inHg)
  • วันที่ 18 สิงหาคม ในระหว่างวันทั้ง JMA และ JTWC ต่างรายงานว่าพายุโซนร้อนเปวา ได้เคลื่อนตัวจากแอ่งแปซิฟิกกลาง เข้ามาในแอ่งแปซิฟิกตะวัน ห่างจากเกาะเวก ไปทางทิศตะวันออกใต้ประมาณ 1,640 กิโลเมตร (1,020 ไมล์)[91][92]
  • วันที่ 20 สิงหาคม JTWC ได้รายงานว่า เปวา ทวีกำลังแรงขึ้นเทียบเท่าเฮอร์ริเคนระดับ 1 ตามสเกลเฮอร์ริเคนของแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน (SSHS) โดย JMA ไม่ได้ประกาศทวีความรุนแรงของพายุดังกล่าวเป็นพายุไต้ฝุ่น ซึ่งต่อมาได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 22 สิงหาคม เปวา ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวลมเฉือนแนวตั้ง ทำให้อ่อนกำลังลงเรื่อย ๆ อย่างช้า ๆ
  • วันที่ 23 สิงหาคม ลมเฉือนแนวตั้งยังมีอิทธิพลให้ เปวา อ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่อง ขณะกำลังเคลื่อนตัวไปทางเหนือ
  • วันที่ 24 สิงหาคม JTWC ได้ประกาศลอระดับความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 26 สิงหาคม เปวา ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และสลายไปในที่สุด[93][91]

พายุโซนร้อนอูนาลา

พายุโซนร้อน (JMA)
ระยะเวลา19 สิงหาคม (เข้ามาในแอ่ง)
ความรุนแรง65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)
  • วันที่ 19 สิงหาคม ในระหว่างวัน JMA และ JTWC ได้รายงานว่า พายุโซนร้อนอูนาลา ได้ย้ายเข้ามาในแอ่งแปซิฟิกตะวันตก ตัวพายุได้อ่อนกำลังอย่างร็วดเร็วและ เคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเข้าสู่อาณาเขตของพายุโซนร้อนกำลังแรงเปวา[94][95] ซึ่ง JMA สามารถค้นพบพายุครั้งสุดท้ายได้ ก่อนที่มันจะสลายตัวไป[95][96]

พายุโซนร้อนกำลังแรงกองเร็ย

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา25 – 31 สิงหาคม
ความรุนแรง100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
980 mbar (hPa; 28.94 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): นันโด

พายุโซนร้อนยวี่ถู่

พายุโซนร้อน (JMA)
ระยะเวลา29 สิงหาคม – 5 กันยายน
ความรุนแรง65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1002 mbar (hPa; 29.59 inHg)
  • วันที่ 29 สิงหาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพบพายุดีเปรสชันเขตร้อนมีการก่อตัวในระยะประมาณ 1,000 กิโลเมตร (620 ไมล์) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเวก[97]
  • วันที่ 1 กันยายน พายุค่อยพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ ขณะที่กำลังมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก จนพายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อนและให้ชื่อว่า "ยวี่ถู่"[98]

พายุโซนร้อนกำลังแรงโทราจี

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา31 สิงหาคม – 4 กันยายน
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
985 mbar (hPa; 29.09 inHg)

พายุไต้ฝุ่นหม่านหยี่

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา11 – 16 กันยายน
ความรุนแรง120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
960 mbar (hPa; 28.35 inHg)

พายุไต้ฝุ่นอูซางิ

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา16 – 24 กันยายน
ความรุนแรง205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
910 mbar (hPa; 26.87 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): โอเดตต์

พายุโซนร้อนกำลังแรงปาบึก

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา19 – 27 กันยายน
ความรุนแรง110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
965 mbar (hPa; 28.5 inHg)
  • วันที่ 18 กันยายน เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำที่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกวม
  • วันที่ 21 กันยายน JTWC ออกรหัสเรียกขาน "19W"
  • วันที่ 22 กันยายน JTWC ออกประกาศและเรียกชื่อพายุนี้ว่า "ปาบึก"[99]
  • วันที่ 24 กันยายน JTWC ประกาศยกระดับความรุนแรงขึ้นเป็นไต้ฝุ่นประเภทสอง แต่ JMA ยังกำหนดให้เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 27 กันยายน พายุเคลื่อนตัวออกนอกเขตร้อน แล้วสลายตัวไป[100]

พายุไต้ฝุ่นหวู่ติบ

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา25 กันยายน – 1 ตุลาคม
ความรุนแรง120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
965 mbar (hPa; 28.5 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): ปาโอโล

พายุโซนร้อนเซอปัต

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา29 กันยายน – 2 ตุลาคม
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
992 mbar (hPa; 29.29 inHg)
  • วันที่ 29 กันยายน เกิดพายุดีเปรสชันเขตร้อนทางตะวันออกของเกาะอิโวจิมะ
  • วันที่ 30 กันยายน JTWC ออกรหัสเรียก 21W[101] และยกระดับขึ้นเป็นพายุโซนร้อนเซอปัต
  • วันที่ 2 กันยายน พายุเคลื่อนตัวออกนอกเขตร้อน และสลายตัวในวันต่อมา[102]

พายุไต้ฝุ่นฟิโทว์

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา29 กันยายน – 7 ตุลาคม
ความรุนแรง140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
960 mbar (hPa; 28.35 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): เกดัน
  • วันที่ 27 กันยายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัว ณ ด้านตะวันออกของหมู่เกาะปาเลา
  • วันที่ 29 กันยายน ทวีกำลังขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในวันที่ 29 กันยายน ต่อมา PAGASA จึงได้ประกาศให้ขานชื่อพายุว่าเกดัน
  • วันที่ 30 กันยายน พายุมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 1 ตุลาคม JTWC ประกาศให้ออกชื่อพายุว่าฟิโทว์ [103]
  • วันที่ 3 ตุลาคม JTWC ออกประกาศว่าพายุฟิโทว์ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับสอง ในขณะที่กำลังมุ่งหน้าทางเหนือ ระหวางนั้นพายุได้เคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะทางใต้ของญึ่ปุ่น มีผู้เสียชีวิต 1 คน[104]
  • วันที่ 7 ตุลาคม พายุอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน ขึ้นฝั่งที่เมืองเวินโจว มณฑลเจ้อเจียง ทางการจีนออกประกาศให้ชาวเรือรีบนำเรือเข้าฝั่งและอพยพผู้คน ในจำนวนนี้ 540,000 คนมาจากมณฑลเจ้อเจียง ส่วน 177,000 คน มาจากมณฑลฝูเจี้ยน นอกจากนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตที่เมืองเวินโจว 1 คน และคนงานท่าเรือสูญหาย 2 คน[105] ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ากว่า 2 พันล้านหยวน[106]

พายุไต้ฝุ่นดานัส

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา1 – 9 ตุลาคม
ความรุนแรง165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
935 mbar (hPa; 27.61 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): รามิล
  • วันที่ 1 ตุลาคม ดีเปรสชันเขตร้อนเริ่มก่อตัวที่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะกวม
  • วันที่ 3 ตุลาคม ทวีกำลังเป็นดีเปรสชันเขตร้อน "23W"[107]
  • วันที่ 4 ตุลาคม JMA ประกาศว่าพายุได้มีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ตั้งชื่อว่าดานัส[108][109]
  • วันที่ 7 ตุลาคม พายุได้เคลื่อนตัวสู่กระแสน้ำอุ่นทำให้มีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับสี่[110]
  • วันที่ 8 ตุลาคม พายุอ่อนกำลังลงพร้อมกับกลายสภาพเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน (extratropical cyclone) เนื่องจากเคลื่อนตัวออกนอกเขตร้อน และสลายตัวในวันต่อมา

พายุไต้ฝุ่นนารี

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา8 – 16 ตุลาคม
ความรุนแรง140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
965 mbar (hPa; 28.5 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): ซันตี
  • วันที่ 7 ตุลาคม เกิดบริเวณพาความร้อนในทะเลฟิลิปปินส์ ในเวลาต่อมาได้ก่อตัวขึ้นเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ และกลายเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในเวลาต่อมา[111]
  • วันที่ 10 ตุลาคม พายุทวีกำลังจากพายุโซนร้อนขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 11 ตุลาคม พายุเพิ่มกำลังเป็นพายุไต้ฝุ่น ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในฟิลิปปินส์ มีผู้เสียชีวิต 4 คน[112] พร้อมกันนั้นพายุก็อ่อนกำลังลงเป็นไต้ฝุ่นระดับสอง

พายุไต้ฝุ่นวิภา

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา9 – 16 ตุลาคม
ความรุนแรง165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
930 mbar (hPa; 27.46 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): ตีโน
  • วันที่ 8 ตุลาคม ดีเปรสชันเขตร้อน 25W ก่อตัวขึ้นในบริเวณเดียวกับที่พายุไต้ฝุ่นนารีก่อตัว[113][114][115] ต่อมาได้ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อน และพายุโซนร้อนกำลังแรงตามลำดับ
  • วันที่ 13 ตุลาคม พายุทวีกำลังขึ้นเป็นไต้ฝุ่นระดับสี่[116]
  • วันที่ 14 ตุลาคม พายุเข้าพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ ทางสำนักงานจึงได้ประกาศให้ใช้ชื่อ "ตีโน"

พายุไต้ฝุ่นฟรานซิสโก

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา15 – 26 ตุลาคม
ความรุนแรง195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
920 mbar (hPa; 27.17 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): อูร์ดูฮา
  • วันที่ 16 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นบริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกวม[117] ต่อมา JMA และ JTWC ได้ประกาศทวีกำลังแรงของดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อน และ JMA ได้ให้ชื่อว่า ฟรานซิสโก
  • วันที่ 17 ตุลาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของฟรานซิสโกเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 19 ตุลาคม ฟรานซิสโกทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5

พายุไต้ฝุ่นเลกีมา

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา19 – 26 ตุลาคม
ความรุนแรง215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
905 mbar (hPa; 26.72 inHg)

พายุไต้ฝุ่นกรอซา

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา27 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน
ความรุนแรง140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
970 mbar (hPa; 28.64 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): บินตา
  • วันที่ 26 ตุลาคม ดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวบริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกวม

พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา3 พฤศจิกายน – 11 พฤศจิกายน
ความรุนแรง230 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
895 mbar (hPa; 26.43 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): โยลันดา
  • วันที่ 3 พฤศจิกายน เกิดบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำทางทิศใต้เยื้องตะวันออกของเกาะปอนเปย์ (Pohnpei) ประเทศไมโครนีเซีย ต่อมาศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ออกรหัสเรียกขาน "31W"
  • วันที่ 4 พฤศจิกายน JMA ประกาศให้ใช้ชื่อพายุว่า "ไห่เยี่ยน" ไม่นานนักพายุเข้าเขตรับผิดชอบสำนักบริหารบรรยากาศฯ แห่งฟิลิปปินส์ จึงให้ใช้ชื่อว่า "โยลันดา" พายุไห่เอี้ยนก่อให้เกิดความเสียหายโดยพัดหลังคาโบสถ์ในเขตเลเต[118]
  • วันที่ 7 พฤศจิกายน มีราษฎรได้รับผลกระทบ 905,353 คน และมีผู้เสียชีวิต 3 คน[119]
  • วันที่ 8 พฤศจิกายน จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 23 คน ทั้งนี้มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตรวม 30 คนหลังจากที่พายุพัดผ่านตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์ไปแล้ว[120]

พายุโซนร้อนโพดุล

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา11 – 15 พฤศจิกายน
ความรุนแรง65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): โซไรดา
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน JMA รายงานว่ามีดีเปรสชันเขตร้อนเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากกรุงปอร์ตมอร์สบี ประเทศปาปัวนิวกินี ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเป็นระยะทาง 1,330 กิโลเมตร (830 mi)[121]
  • วันที่ 11 พฤศจิกายน พายุเข้าเขตรับผิดชอบสำนักบริหารบรรยากาศฯ ฟิลิปปินส์ จึงประกาศให้ใช้ชื่อ "โซไรดา"

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2564 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 http://www.theaustralian.com.au/news/breaking-news... http://www.abc.net.au/news/2013-10-07/an-typhoon-f... http://www.chinadaily.com.cn/cndy/2013-08/23/conte... http://weather.news.sina.com.cn/news/2013/0719/100... http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.china.org.cn/china/2013-06/22/content_2... http://news.163.com/13/0719/21/9465P9A700014JB5.ht... http://thoughtleadership.aonbenfield.com/Documents... http://thoughtleadership.aonbenfield.com/Documents...